วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

AAR YCL Dialogue 239 110508

เมื่อคืนเกิดอะไรขึ้นในวงสนทนา YCL....นั่นใช่ dialogue หรือไม่?

การพูดคุยเพื่อตัดสินใจในการจะทำอะไรร่วมกันสักอย่างหนึ่ง การพูดคุยเริ่มต้นกันอย่างระแวดระวัง พูดคุยอย่างเกรงใจ พูดถึงความคิดเห็นที่สื่อออกมาผ่านภาษาในลักษณะไม่ว่าใครไม่มีใครถูกใครผิดเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น การพูดคุยผ่านไปถึงจุดหนึ่ง การพูดคุยถูกผลักให้แสดงถึงความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่ลึกลงไปมากกว่าภาษา เพื่อเปิดเจตนาของผู้คนในกลุ่ม และลดความเกรงอกเกรงใจกัน การเปิดพื้นที่ให้เกิดการปลอดภัยพอ ตรงนี้ใช้ความกล้าและจริงใจของผู้คนมากพอที่จะแสดงเจตนาตรงนี้ว่า วงมีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มหนึ่งเชื่อมั่นว่า dialogue ดี และ อีกกลุ่มหนึ่งคือไม่เชื่อมั่นกับ dialogue ระดับการสนทนาเริ่มลงลึกเบื้องหลังภาษา ไปสู่อารมณ์หรือความรู้สึกที่แสดงออกมาผ่านเรื่องเล่า ประสบการณ์ที่ตนเองเจอ แสดงบางอย่างให้เห็นว่าความต่างแต่เบื้องต้นนั้น ไม่ใช่ไม่เชื่อมั่น dialogue แต่เป็นความรู้สึก ความกังวลผลของการทำกระบวนการว่าจะออกมาดีหรือไม่ หากผู้เข้าร่วมไม่ได้ตระเตรียมตัวมาเพื่อทำการ dialogue จะรับไม่ได้ ความกังวลของกระบวนการที่ต้องเป็นกระบวนกรเพื่อนำพาผู้คนเพื่อการเรียนรู้เพราะไม่เคยทำ จนถึงความกังวลต่อผลกระทบต่อผู้คนที่เกี่ยวข้อง...และอื่นๆ อีกมากมาย จนถึงการขมวดเกลียวได้ข้อสรุปอย่างพอดี และเห็นเหมือนกันทั้งที่มีการเริ่มต้นจากความคิดต่าง เป็นการเลื่อนไหล ไต่ระดับการพูดคุยอย่างลงลึกนี่คือ dialogue ...ใช่หรือไม่....

หากเราสืบค้นจากการพูดคุยข้างต้น เป็นการเริ่มต้นการทำบางอย่างที่เราไม่คุ้นชิน การเริ่มต้นที่เราจะทำอะไรที่ไม่เคยทำ เป็นการออกจาก comfort zone หรือออกจากไข่แดง มันมักมีอาการเสียวๆ หรือกังวลแบบนี้นี่แหละใช่แล้ว แล้วเบื้องหลังความกังวลเหล่านั้น คือเสื้อเกราะตัวไหนที่เหล่านักธุรกิจใส่อยู่,...(ป้อมพูดถึงการเป็น CEO)

การเริ่มต้นครั้งนี้สำหรับผู้จัด (YCL NW) นกนึกถึงการได้ยินเสียงตนเองก่อน รู้จักเสื้อเกราะที่ตัวเองสวมใส่ไว้ก่อน จากนั้นค่อยๆ ถอด แบบค่อยๆ เริ่มสัมผัสแบบแผนพลังภายในแบบที่ไม่มีเสื้อเกราะบางส่วน เริ่มฝืนเล็กๆ ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นบ่มเพาะ ความเป็นปกติ ในชีวิตประจำวัน จนถึงเข้าไปสัมผัสสภาวะที่เหมาะกับการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของตนคือ Optimum Learning State นั่นเอง การเริ่มต้นที่จะวางใจตนเอง และวางใจผู้อื่น เป็นการหัดเต้นรำ หรือหายใจให้เป็นลมหายใจเดียวกันของเหล่ากระบวนกรนั่นเอง แล้วนักธุรกิจเหล่านี้ต้องเต้นรำกับผู้อื่นบ้างหรือไม่อย่างไร

อันนี้ใช่การเรียนรู้ด้วยใจใคร่ครวญสำหรับนักธุรกิจ หรือเปล่า

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คำถามดีๆ ในชีวิต บทส่งท้าย

- ๔- ส่งท้ายกล้วยกล้วย- นครสวรรค์--คำตอบ
การบันทึกส่งท้ายการเรียนรู้ในห้วงคำนึงของงานนักศึกษารามา ที่กล้วยกล้วยรีสอร์ทวันที่ 15-17 ต.ค. ที่ผ่านมา คำตอบ ของคำถามที่ผุดขึ้นในการทำงานครั้งนี้และตัวกวนที่บรรจงโยนใส่ตัวเอง คงไม่มีอะไรเหมาะไปกว่าบทสนทนาของฉันกับครูใหญ่(อจ.วิศิษฐ์) ที่ห่างหายไปนาน

ฉัน: งานของพี่นิด กับแอน มีความสุขมากเลย
ใหญ่: ครับ
ฉัน: งาน workshop ที่นกไปทำ กับศรชัย อาประสาท น้ำ
ใหญ่: เป็นอย่างไร? ฉัน: กำลังเขียนบันทึก คราวนี้มันออกเป็นฉากๆ เลย
ใหญ่: ดี อ่านบ้างแล้ว เขียนได้ดีมาก
ฉัน: เพิ่งได้บางคำตอบ การทำอะไรบางอย่าง เหมือนทำเพื่อทดแทนสิ่งที่ตัวเองหายไป รู้สึกชีวิตช่วงวัย นศ. หายไป
ใหญ่: เล่าอีกนิดซิ มันคืออะไร? อ้า โตเร็ว รับผิดชอบเร็ว
ฉัน: และการไปเป็น นศ.พยาบาล อาจเป็นจิตใต้สำนึกของ ตัวเอง ที่ความต้องการช่วงวัยนั้น ต้องการความสดใส อิสระ แต่ต้องไปอยู่ภายใต้กรอบ กฏเกณฑ์ ขอบเขต เป็นความทุกข์อยู่ลึกๆ ส่วนหนึ่ง
ใหญ่: อา นำมันกลับมา เป็นวัยรุ่นได้ตลอดกาล พ่อยังเป็นวัยรุ่นอยุ่เลย
ฉัน: การพยายามกลับไปทำกระบวนการ ให้ นศ.พยาบาล ก็อาจเป็นตรงนี้ ต้องการปลดปล่อยบางอย่าง
พอไปทำให้ นศ. ของอ.นิด อ.แอน วันสุดท้ายรู้สึกสนุก รู้สึกตัวเองกลับไปตื่นเต้น ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ กลับไปเป็นวัยรุ่น
ใหญ่: ดีจัง เอาความสดชื่นไปให้น้องๆ นะ อา ใช่เลย
ฉัน: การทำอะไรใหม่ๆ ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มันต้องตื่นเต้น มีชีวิตชีวา
ใหญ่: ดีจัง
ฉัน: อาจเพราะไปทำ workshop ครั้งนี้ กลับไปถามตัวเองว่า ตอนนกอายุเท่าเขา นกต้องการอะไร
ใหญ่: ดีฉัน: อยากให้สิ่งที่เขาต้องการ มากกว่าพยายามจะให้ทุกอย่างที่เราคิดว่าดี เลยเจอ อ้าว ฉันนี่สาหัสสากรรจ์ ที่แท้ตัวฉันขาดนี่เอง
ใหญ่: อา
ฉัน: ก็เลยรู้สึกดีค่ะ เป็นการเติมเต็มตัวเอง แล้วคนอื่นได้ประโยชน์ด้วยค่ะ เป็นการเติมพลังชีวิต หรือเวลาเป็นเมจิก จริงๆนกที่เป็นวัยรุ่นก็ยังอยู่
ใหญ่: ใช่เลย

น่าจะเป็นคำตอบดีๆอีกหนึ่งคำตอบ ของคำถามดีๆ ในชีวิต "ทำไมถึงมาเป็นกระบวนกร"