วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

ควันของความคิด กับ ต้นธารปัญญาแห่งต้นน้ำเจ้าพระยา

โครงการ ต้นธารปัญญาแห่งต้นน้ำเจ้าพระยา

ขงจื้อ กล่าวว่า
เราเกิดปัญญาได้สามวิธี
วิธีแรกคือใคร่ครวญ ซึ่งเป็นวิธีที่มีภูมิธรรมสูงที่สุด
วิธีที่สองคือรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ขมขื่นที่สุด
วิธีที่สามคือเลียนแบบ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด


อาจเป็นเพราะความเชื่อทีว่าปัญญาเกิดจากการฟัง ดังนั้นการลงมือเสาะหาความลับแห่งปัญญาและการดำเนินชีวิตที่เติมเต็มและมีจุดหมาย จึงเป็นการเริ่มด้วยการฟังเรื่องราวของผู้อื่น โครงการต้นธารปัญญาแห่งต้นน้ำเจ้าพระยา คือปัญญาที่เกิดจากวิธีที่สาม เป็นปัญญาที่ต้องมีต้นแบบ เราชุมชนนครสวรรค์จึงต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างพื้นที่ ที่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ในการเสาะหาต้นธารปัญญาอันจะเป็นมรดกของชุมชน ที่จะส่งต่อดุจดั่งสายธารที่รินไหลสู่ห้วงมหาสมุทรแห่งปัญญา

วัตถุประสงค์
1. เสาะหา สืบค้น ปัญญาในตัวผู้คนของท้องถิ่นเป็นหลัก
2. หาต้นแบบ เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ผ่านฐานวัฒนธรรมของชุมชน
3. บันทึก เผยแพร่ เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะความรู้ชองชุมชน
4. ส่งเสริมการเท่าทัน การใช้ชีวิตในยุคบริโภคนิยม
5.สร้างเครือข่ายผู้ที่สนใจการเรียนรู้เพื่อจิตสำนึกใหม่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มคนที่ ๑ สายธาร กลุ่มคนที่มีถิ่นกำเนิดที่นครสวรรค์หรือปัจจุบันมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์อายุ 25 ปีขึ้นไป มีประวัติในการทำงานให้แก่สังคม หรือมีความสนใจในการทำงานแบบจิตอาสา หรือมีความสนใจเรื่องจิตสำนึกใหม่ หรือ จิตวิวัฒน์
กลุ่มคนที่ ๒ ต้นธาร ให้เป็นผู้สูงวัย อายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีถิ่นกำเนิดที่นครสวรรค์ หรือปัจจุบันมีถิ่นที่อยู่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
กลุ่มคนที่ ๓ มหาสมุทร คนในชุมชน ทุกวัย ในชุมชน

กิจกรรมกระบวนการ

ระยะที่ ๑

ขั้นตอนที่ ๑ เลือกสายธาร รวบรวมทุก 1 สัปดาห์

เลือกหาสายธาร

เริ่มต้นเสนอ กลุ่ม YE , กลุ่ม YCL, กลุ่มนครสวรรค์ฟอรั่ม , ครูณา, พี่เบ็ธ , พี่เปี๊ยก, ศรชัย, พี่เดช ฯลฯ......

ขั้นตอนที่ ๒ เสาะหาต้นธาร รวบรวมทุก 1 สัปดาห์

๑. ให้กลุ่มคนที่ ๑ คือสายธาร ระบุชื่อผู้สูงวัยมาหนึ่งคน ซึงเป็นคนที่เราเชื่อว่าท่านได้ค้นพบจุดหมายและความสุข จากนั้นให้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับท่านๆนั้นมา
dialogue กลุ่มสายธาร คุยกันทำไมถึงเสนอชื่อ ต้นธาร ท่านนี้ เกิดแรงบันดาลใจอะไรในตัวเอง

๒. เสาะหาต้นธาร นัดมา 10-15 คน รวม สายธารด้วย(สายธารเชิญต้นธาร) ทำวงสนทนา 20-30 คน

เราจะนั่งสัมภาษณ์ส่วนตัว/นั่งคุยกันอย่างน้อย 3 ชั่วโมง กับคำถามเหล่านี้
1. อะไรนำมาซึ่งความสุข
2. อะไรทำให้ชีวิตมีความหมาย
3. อะไรเป็นเรื่องเสียเวลา
4. หากย้อนเวลากลับไปได้ จะทำอะไรให้แตกต่างจากเดิม
5. อะไรคือจุดหักเหสำคัญที่เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเขา
6. พวกเขารู้สึกอย่างไรกับการใช้ชีวิตนี้กับมรดกที่จะส่งต่อ
.......
......

ขั้นตอนที่ ๓ ไหลสู่มหาสมุทร
บันทึก
เผยแพร่


ระยะที่ 2 ลูกคลื่น
เลือก ต้นธาร มานั่งคุย มองอย่างลึกซึ้ง สัก 1 -2 คน เดือนละ 1 ครั้ง
เชิญ ต้นธารของประเทศ มาร่วม สัก 1 คน 2 เดือน/ 1 ครั้ง เช่น นพ.ประเวศ,อ.ระพี สาคริก ฯลฯ
เปิดพื้นที่ เชื้อเชิญ คนในชุมชนให้มาฟังอย่างลึกซึ้ง เดือนละ 1 ครั้ง




เป็นโครงการที่มีแรงบันดาลใจ จากการเห็น ต้นธาร อย่าง เฮียเปรียว พี่วาส ฯลฯ
สายธารต้นๆ พี่หมอ พี่ประพนธ์ ฯลฯ
สายธารกลางๆ อย่าง พี่ใช้ พี่คมกฤช ประกิจ ศรชัย ฯลฯ
สายธารปลายๆ ดาวรุ่งพุ่งแรง อย่าง เติ้ง กลอฟ์ ตูน ฯลฯ
มาสนใจ ต่อสู้กับเรื่องคาร์ฟู


อะไรหนอ ที่จะทำให้ปัญหาของคนกลุ่มหนึ่ง(เพราะมองว่ามันเป็นปัญหา) จะทำให้ชุมชนตระหนักรู้ ว่าเป็นปัญหาของชุมชน
เรายังมีปัญหาสำหรับสังคมสมัยใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันวิ่งตามมันทัน หรือไม่ก็เหนื่อยมากในการวิ่งแก้ปัญหา คาร์ฟู โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อะไรต่อมาอีกล่ะ


หรือ เราต้องทำให้คนในชุมชนของเรามีปัญญามากพอ ที่จะตระหนักรู้
และปัญญา ที่ง่ายที่สุด คือวิธีที่สาม


เราอาจต้องถอดหาต้นธาร ของเฮียเปรียว พี่วาส ว่าประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา มีต้นแบบเป็นใคร ทำไม อะไร อย่างไร ที่ทำให้วันนี้ พี่ๆ จึงตระหนักถึงการทำงานเพื่อสังคม เพื่อชุมชน


เพื่อถ่ายทอด ให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ และลูกคลื่นเล็กๆ ทั้งหลายในชุมชน ได้หันกลับมามองอย่างลึกซึ้งว่าเขาก็คือคนสำคัญ เขาเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสิ่งดีๆ และทำลายชุมชน ด้วยความคิดเห็นของเขาแม้เพียงเขาเลือกที่จะอยู่เฉยๆ


ด้วยความหวังเมื่ิอลูกคลื่นเล็กๆ ที่สะอาดพอ มารวมๆ กัน ก็พอจะทำให้สายธารของเราไม่เน่าเสีย พอจะอยู่ร่วมกันได้ ไม่ต้องหวังว่ามันจะใสสะอาดสะทีเดียว