วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

ถือบวชที่ใจ

ครั้งแรก กับการเดินเข้าร่วมวง ไดอะล็อค กับนักธุรกิจ
คน 10 คน ที่มานั่งล้อมวงกัน ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของธุรกิจและมาจากหลายจังหวัด
อาจมีพี่สันติ ที่เป็นทนายความ มาจากสภาทนายความ
แต่ทุกคน มาในฐานะที่มีส่วนร่วมในสังคม
และมีเจตนา มาร่วมกันเพื่อสืบค้นว่าเราจะทำอะไรดีๆ ให้กับสังคม

ฉันเป็นคนที่ก้าวจาก พนักงาน ลูกจ้าง เพื่อมาเป็นนายของงานด้วยตนเอง
ฉันกำลังก้าวเดินบนทาง หรือเป็นต้นๆ ของทางเดินเส้นนี้
ความหวาดหวั่นในใจ ยังมีเสมอ ว่าฉันจะยืนอยู่บนโลกธุรกิจได้เหมาะสมอย่างไร
ฉันเคยมีคำถามด้วยความไม่มั่นคงในอารมณ์ว่า โลกธุรกิจ ช่างเป็นโลกแห่งการแก่งแย่ง แข็งขัน และเอาเปรียบ
ช่างแตกต่างจาก โลกของผู้คนทางจิตวิญญาน เหลือเกิน ฉันจะอยู่ได้หรือ

ระยะหลังที่ฉันเริ่มสัมผัสกับผู้คนในกลุ่ม YCL
ฉันสัมผัสถึงโลกภายในของเจ้าของที่สัมพันธ์ต่อโลก ผ่านกิจกรรม และการดำเนินธุรกิจของพวกเขา
ฉันเริ่ม สัมผัสได้ถึงอะไรคือการแบ่งส่วนโลกธุรกิจ โลกของคนเงินเดือน โลกของนักประชาสังคม
แว่นที่ฉันสวมใส่นั่นเอง แยกส่วน แยกโลก เกิดจากฉันนั่นเอง
กิจกรรมต่างๆ เป็นเพียงบริบท เป็นเพียงวาระ และหน้าที่ ที่เขาอาจจะถูกลิขิตมาส่วนหนึ่งหรือเปล่า
โลกภายในของเขาที่สัมพันธ์กับโลกต่างหาก ที่ฉันควรมองให้ถึงผู้คนเหล่านั้นที่แท้จริง

ครั้งนี้เริ่มต้นประเด็นการเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือคือ ไดอะล็อค
ด้วยคำถาม What is the Dialogue? และประโยชน์ของไดอะล็อค ในวงสนทนา

การสืบค้น What the initiative of Thai society?
การสนทนาที่มีวาระ เช่นนี้
และความคุ้นชิน ของผู้คนที่มีภาวะผู้นำแบบเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการความชัดเจน และมีความเก่งของปัจเจกเป็นปัจจัยหลักอยู่แล้ว
การเริ่มต้นของการสนทนา ฉันลังเลที่จะเป็น Fa (Facillitator) ของกลุ่ม มีเสียงหนึ่งของฉันบอกว่า ฟังเสียง สัมผัสคลื่นของผู้คน เป็นการเริ่มต้นที่ดีกว่า

และแล้วในวันแรก dialogue จึงเป็นเครื่องมือที่จะเลือกใช้ เมื่อสถานการณ์ของการสนทนาในกลุ่มดำเนินไปจนถึงสภาวะที่เรียกว่า discuss หรือถึงจุด debate กันเลยทีเดียว
พร้อมๆ กับ การแข็งตัวของกล้ามเนื้อไหล่ ลำคอ และการมึนหัวของฉัน และอาการนี้ไม่ได้เกิดกับฉันคนเดียว

ค่ำคืนนั้น ฉันนอนภาวนา หรือ Inner Yoga เพื่อปลดปล่อยพลังตึงเครียด ซึ่งเกิดจากการพยายามควบคุมหรือจัดการ และไม่ผ่อนคลายนั่นเอง

เช้าวันรุ่งขึ้น ฉันรู้สึกกระตือรือร้น เพื่อสะท้อนการรับรู้และสัมผัสพลังความตึงเครียดอย่างรุนแรงได้ในตัวเอง พลังนั้นสามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจน เป็นพลังที่ไม่ได้สัมผัสมานานพอสมควร พลังตึงเครียดนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการสนทนาของฉันในกลุ่มแน่นอน การสนทนาของฉันก็เป็นลักษณะของการยืนยันความคิด ความเชื่อของตัวเอง และใช้พลังมากกว่าปกติเพราะเมื่อการสนทนาเป็นลักษณะ disscuss ฉันเองก็พลั้งเผลอ พยายามยืนยัน และแสดงฐานคิดของตัวเองเช่นกันไม่ต่างกันกับคนอื่น รวมถึงการพยายามที่จะจัดการตัวเองในการตอบโต้การ discuss กับผู้ร่วมสนทนา ณ ขณะนั้น เมื่อผู้ร่วมวงพูดโต้แย้งแบบไม่เห็นด้วยกับความคิดของฉันในเกือบทันทีทันใด การพูดคุยจึงไม่ผ่อนคลายและใช้พลังมาก ตลอดเส้นทางการสนทนาอันยาวนานของวันแรก ฉันโทรคุยกับอจ.วิศิษฐ์ ครูว่าได้บอกกล่าวความรู้สึกของตัวเองให้กลุ่มหรือไม่ บอกกล่าวว่าเรารู้สึกอย่างไร ที่เราแสดงเป็นเพียงความคิดเห็นของเรา ทุกคนจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ และให้ฉันไปศึกษา มนุษย์ที่แท้ของจางจื้อ เรื่อง ถือบวชที่ใจ

วันที่สอง ของการพูดคุย เราพูดคุยกันอย่างเบาสบาย เราทุกคนในกลุ่มเห็นตรงกัน กับความเบาสบายของแต่ละคน

วันที่สาม ฉันเห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ของผู้คนในวง จากคนที่พูดคุยให้ได้คำตอบ การสรุป อย่างชัดเจน เริ่มก้าวข้ามบางอย่างจากความเคยชิน
ของคนเก่ง การพูดคุยเพื่อการสรุป กลายเป็นการพูดคุย เพื่อการพูดคุย เพื่อการแบ่งปันความคิดเห็น และฟังกัน ฉันรู้สึกว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น
แล้วในวงไดอะล็อควงนี้ มหัศจรรย์อย่างไรหรือ

ฉันถาม ไม่มหัศจรรย์หรือ ที่คนเก่ง คนที่ต้องการข้อสรุป เพื่อตอบโจทย์ที่สวยงามให้ผู้คน กลับ กล้า ฉันใช้คำว่า กล้า กล้าที่จะยืนพูดเนื้อหาเดิมๆ
เกริ่นนำเรื่องราวเดิมๆ ที่พูดไปแล้ว และเชิญชวนให้เพื่อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่ทำจริงเป็นตัวอย่างสำหรับผู้อื่น สำหรับฉันนี่คือสิ่งมหัศจรรย์
การก้าวเดินสู่พื้นที่ ที่ไม่น่าจะคุ้นชินสำหรับเขา .... ไดอะล็อค การเปิดใจ อย่างแท้จริง ประสบการณ์คือ ปัญญา ที่เราได้จากการพูดคุยกันและฟังกันอย่างแท้จริง เป็นการสรุปที่งดงามสำหรับฉัน...

กลับบ้านมา ฉันเพิ่งได้อ่านบทความ ถือบวชที่ใจ อย่างเบาสบาย เบาสบายตั้งแต่การอยู่ร่วมกับผู้คนที่ฉันเคยคิดว่ามีความแตกต่างจากฉัน

ฉันรู้สึกถึงการเติบโต ของจิตวิญญาน หรือการวิวัฒนาการของจิตที่ใหญ่ขึ้น ที่ปฏิบัติผ่านคำสอนของครู ถือบวชที่ใจ คือการเปลี่ยนแปลงตัวเอง
และการเติบโตของตัวเอง มากกว่าการพยายามจะไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น